วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อพัฒนากลไกและสะสมบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูง เพื่อรองรับการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต
2. เพื่อดึงดูตผู้มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ เพื่อมาร่วมงานกับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐ และภาคอุตสาหกรรม
3. เพื่อตึงดูดผู้มีศักยภาพสูงในประเทศให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกร ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกับนักวิจัยที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ และภาคอุตสาหกรรม
4. เพื่อสร้างกลไกให้เกิดการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน ระหว่างบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูงทั้งในและต่างประเทศร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
บทสรุปผลการดำเนินงาน
การดำเนินโครงการในภาพรวมที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่กระบวนการระตมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกฟอร์มข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบ จากนั้นได้ ทำการประชาสัมพันธ์รับสมัครนักวิจัยภายใต้สาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมีโจทย์ร่วมกันกับภาคเอกชน และทำการดำเนินการคัดเลือก จากนั้นเข้าสู่ช่วงที่ทางนักวิจัยได้ดำเนินการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชน เป็นระยะเวลาสัญญา 12 เดือน ซึ่งทางโครงการฯ ได้นักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลังปริญญาโท ที่มีศักยภาพสูงใน 5 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขา High Energy Physics and Plasma(HEP) จำนวน 5 คน, สาขา Quantum Technology (QT) จำนวน 3 คน, สาขา Frontier BCG จำนวน 9 คน,สาขา S-Curves/New S-Curves Industry จำนวน 9 คน และสาขา Social science, Humanities and Arts (SHA) จำนวน 4 คน ซึ่งนักวิจัยที่ได้รับทุนโครงการฯ เหล่านี้อยู่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาทั้งหมด 6 แห่ง ได้ แก่ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ (Chula Unisearch) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันชุณหะวัณฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เกิดกลไกและระบบการพัฒนาและการสะสมบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูง ร่วมกันระหว่างสถานศึกษา และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขยายผล และเป้าหมายมากขึ้นและมีความต่อเนื่อง, เกิดผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรมขั้นแนวสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในระดับนานาชาติ รวมทั้งปริมาณ/การลงทุนวิจัย ที่ร่วมพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดการพัฒนาภายในประเทศเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยใช้กลไกของคอนซอร์เตียมที่มีชุดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย และเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักวิจัยแนวหน้าจากต่างประเทศ ทางโครงการฯ จึงได้จัดงาน "การปฐมนิเทศและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนากลไกการสร้างและสะสมบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูง (National Postdoctoral Postgraduate System of Thailand) ประจำปีประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม จามจุรี 1 ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส ซึ่งงานในครั้งนี้ได้เสร็จลุล่วงไปด้วยดีและได้รับการตอบรับที่ตีจากทั้งทางนักวิจัยและอาจารย์พี่เลี้ยงที่เข้ามาร่วมกิจกรรมของงานตลอดทั้ง 2 วัน ซึ่งผลลัพธ์จากการดำเนินการคือ การทำให้นักวิจัยและอาจารย์พี่เลี้ยงภายในเครือข่ายคอนชอร์ตเตียม ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในศาสตร์และข้ามศาสตร์ของนักวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็ง และได้เรียนรู้ทักษะจำเป็นทั้งในด้านของ Hard skill และ Soft skill ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอนาคต
ในช่วงระหว่างการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ข้างตัน ทางโครงการฯ ก็ได้ดำเนินการคู่ขนานในเรื่องของการพัฒนาแพลตฟอร์ม National Postdoctora/Postgaduate Fellowship of Thailand โดยในขณะนี้ ได้มีการอัพเดทรูปภาพ/ข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ ของทั้งนักวิจัย อาจารย์พี่เลี้ยง และภาคเอกชน ลงในแพลตฟอร์มแล้วในบางส่วน และอยู่ระหว่างการดำเนินพัฒนาส่วนของการใช้งาน ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความเป็นสากล และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อใช้งานรองรับข้อมูลนักวิจัย Postdocs ในปี 66 ซึ่งถือเป็นการสร้างกลไกและระบบการพัฒนาและการสะสมบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูง เพื่อรองรับงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต และเป็นการพัฒนาเชิงระบบอย่างยั่งยืน