คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

รายละเอียดงบประมาณที่ทาง บพค. สนับสนุนนักวิจัยทั้ง 4 ประเภท แสดงดังภาพ
 

นักวิจัยสามารถรับทุนวิจัยได้ ตามวุฒิการศึกษาสูงสุดที่ได้รับก่อนวันทำสัญญาให้ทุน โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินงานวิจัยตามที่กำหนดในสัญญาให้ทุนโครงการ

งบประมาณงวดที่ 1 (70%) ทาง บพค. จะโอนเงินไปยังนักวิจัยพี่เลี้ยงหลังทำสัญญาให้ทุนแล้วภายใน 1 เดือน งบประมาณงวดที่ 2 (30%) ทาง บพค. จะโอนไปยังนักวิจัยพี่เลี้ยงหลังจากที่นักวิจัยส่งรายงานผลการดำเนินงานวิจัย และมีสิ่งส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาให้ทุนแล้ว

กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงนักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลังปริญญาโท ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดที่รับทุน ทำหนังสือแจ้งมายัง บพค. เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงนักวิจัย สำหรับกรณีที่ผู้รับทุนไม่สามารถหานักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลังปริญญาโท ทดแทนได้ จะต้องทำหนังสือแจ้งมายัง บพค. และดำเนินการคืนเงินคงเหลือมายัง บพค.

บเสร็จรับเงินที่เกิดขึ้นในโครงการ ให้ผู้รับทุนเป็นผู้เก็บใบเสร็จ และรายงานการใช้จ่ายเงินในโครงการให้ บพค. ทราบ

หากมีงบประมาณคงเหลือหลังจากเกิน 12 เดือน ให้หัวหน้าโครงการดำเนินการสรุปงบประมาณคงเหลือเพื่อคืนเงินมายัง บพค. และไม่สามารถนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้จ่ายในหมวดอื่น ๆ ได้

สามารถยื่นข้อเสนอโครงการต่อเนื่องในปีถัดไปได้ โดย บพค. จะพิจารณาอนุมัติโครงการเป็นรายปี และการพิจารณาขึ้นอยู่กับผลผลิตของโครงการ หรือสิ่งส่งมอบในปีแรก

ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1 จะไม่นับรวม review article (ในส่วนของ review article สามารถนับเป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยได้)

First author เป็นชื่อนักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลังปริญญาโทที่ได้รับทุน สำหรับ corresponding author เป็นชื่อนักวิจัยพี่เลี้ยง ยกเว้นในการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ First author เป็นชื่อนักวิจัยพี่เลี้ยงได้ และต้องปรากฏชื่อของนักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลังปริญญาโทในผลงานตีพิมพ์ฉบับดังกล่าว

นักวิจัย A ได้รับทุนประเภทที่ 1 : นักวิจัยหลังปริญญาเอก ต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยที่จบอยู่ใน         Top 100 QS ranking ได้รับทุนสนับสนุน 1,000,000 บาท คำนวณการสนับสนุน in-cash, in-kind จากภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

In-cash (สนับสนุนเป็นตัวเงิน) 10% ของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก บพค. : 1,000,000 x 10% = 100,000 บาท

In-kind : 1,000,000 x 10% = 100,000 บาท

* In-cash = สนับสนุนเป็นตัวเงิน โดยภาคอุตสาหกรรมดำเนินการโอนงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยให้แก่มหาวิทยาลัยต้นสังกัดของนักวิจัย หรือบัญชีของนักวิจัยพี่เลี้ยง และเก็บใบเสร็จการโอนเงินไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง

**In-kind = สนับสนุนในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น อุปกรณ์การวิจัย ค่าน้ำยา สารเคมี ฯ เป็นต้น โดยรายงานมูลค่าการสนับสนุนให้ บพค. ทราบ

ให้ดำเนินการทำหนังสือแจ้งขอขยายเวลามายัง บพค. ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการทุกครั้ง โดยแจ้งขอขยายระยะเวลาโครงการได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน รวมระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจาก บพค. และการขยายระยะเวลาต้องไม่กระทบกับงบประมาณที่ได้รับ และสิ่งส่งมอบ

รายละเอียดงบประมาณสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก/หลัง 

ปริญญาโท ทั้ง 4 กลุ่ม ดังตาราง

โดยมีอัตราเงินเดือนของนักวิจัยแต่ละประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 : บพค. สนับสนุนค่าตอบแทนของนักวิจัย 100% (1,000,000 บาท)

นักวิจัยหลังปริญญาเอก (สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทนของนักวิจัย 100% (1,000,000 บาท) เป็นนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับใน Top 100 ข้อมูลอ้างอิงจาก QS World University Rankings 2022

-> อัตราเงินเดือน 65,000 บาท/เดือน/คน (780,000 บาท/ปี/คน)

-> ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เดินทาง, สวัสดิการ, ที่พัก) 220,000 บาท/ปี/คน

รวม 1,000,000 บาท/ปี/คน

ประเภทที่ 2 : บพค. สนับสนุนค่าตอบแทนของนักวิจัย 100% (700,000 บาท)

นักวิจัยหลังปริญญาโท (สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทนของนักวิจัย 100% (700,000 บาท) เป็นนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับใน Top 100 ข้อมูลอ้างอิงจาก QS World University Rankings 2022

-> อัตราเงินเดือน 60,0000 บาท/เดือน/คน (600,000 บาท/ปี/คน)

-> ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เดินทาง, สวัสดิการ, ที่พัก) 100,000 บาท/ปี/คน รวม 700,000 บาท/ปี/คน

ประเภทที่ 3 : บพค. สนับสนุนค่าตอบแทนของนักวิจัย 100% (690,000 บาท)

  • ประเภทที่ 3.1 นักวิจัยหลังปริญญาเอก (สำเร็จการศึกษาจากประเทศไทย) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (690,000 บาท)
  • ประเภทที่ 3.2 นักวิจัยหลังปริญญาเอก (สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ไม่เข้าเกณฑ์ Top 100: QS World University Rankings 2022) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (690,000 บาท)
  • ประเภทที่ 3.3 นักวิจัยปริญญาตรี ประสบการณ์ 10 ปี เทียบเท่า ปริญญาเอกในประเทศ บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (690,000 บาท)

-> อัตราเงินเดือน 50,000 บาท/เดือน/คน (600,000 บาท/ปี/คน)

-> ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (เดินทาง, สวัสดิการ, ที่พัก) 90,000 บาท/ปี/คน

รวม 690,000 บาท/ปี/คน

ประเภทที่ 4 : บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (400,000 บาท)

  • ประเภทที่ 4.1 นักวิจัยหลังปริญญาโท (สำเร็จการศึกษาจากประเทศไทย) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (400,000 บาท)
  • ประเภทที่ 4.2 นักวิจัยหลังปริญญาโท (สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ไม่เข้าเกณฑ์ Top 100: QS World University Rankings 2022) บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (400,000 บาท)
  • ประเภทที่ 4.3 นักวิจัยปริญญาตรี ประสบการณ์ 5 ปี เทียบเท่าปริญญาโทในประเทศ บพค. สนับสนุนค่าตอบแทน 100% (400,000 บาท)

-> อัตราเงินเดือน 30,000 บาท/เดือน/คน (360,000 บาท/ปี/คน)

-> ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (เดินทาง,สวัสดิการ, ที่พัก) 40,000 บาท/ปี/คน

รวม 400,000 บาท/ปี/คน

 

อ้างอิงตามพระราชบัญญัติการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ และภาคผนวกในสัญญาให้ทุนโครงการ ระบุความว่า ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิอื่นใดในผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานตามโครงการ ให้เป็นของผู้รับทุนเมื่อผู้รับทุนเปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน และแจ้งความประสงค์ว่าจะเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ให้ทุนทราบ พร้อมทั้งเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ผู้รับทุนเปิดเผยผลงานดังกล่าว

นักวิจัยพี่เลี้ยง คือ 1. อาจารย์ที่สังกัดสถาบันอุดมศึกษา หรือ 2. นักวิจัยที่สังกัดศูนย์วิจัย ในประเทศไทยเท่านั้น

กรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) นักวิจัยจะไม่สามารถรับทุนได้

1. นักวิจัยหลังปริญญาเอก ต้องมีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าก่อนวันทำสัญญา

2. นักวิจัยหลังปริญญาโท ต้องมีวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าก่อนวันทำสัญญา

ไม่สามารถสมัครทุนนี้ได้ เนื่องจากทุนนี้เป็นทุนสำหรับนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก/ปริญญาโทหรือเทียบเท่าแล้ว เพื่อให้สามารถทำงานวิจัยได้เต็มเวลา

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมของประเด็นการวิจัยตามข้อเสนอโครงการ

สามารถทำได้ ทั้งนี้การพิจารณาข้อเสนอโครงการจะพิจารณาจากองค์ประกอบที่ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนทั้งในส่วนของ in-cash และ in-kind เป็นความสำคัญลำดับแรก (priority)